การปฎิบัติตัว เมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง
ไตรกลีเซอไรด์เป็นสารประกอบที่มีกรดไขมัน 3 โมเลกุล ที่ถูกทำให้เป็นเกลือเอสเตอร์ ที่เรียกว่า กลีเซอรอล และสังเคราะห์มาจากคาร์โบไฮเดรตและเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เมื่อเซลล์ไขมันถูกย่อยจะปล่อยกรดไขมันออกมาสู่กระแสเลือด ไตรกลีเซอไรด์ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้โดยตัวมันเอง แม้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจะมีระดับปกติ แต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานชนิดที่2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หากระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากจะเพิ่มความเสียงของโรคตับอ่อนอักเสบซึ่งถ้าเป็นรุนแรงอาจจะทำให้ตายได้หากคุณมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงคุณควรจะเปลี่ยนวิถีชีวิตการกินอยู่ให้ดีขึ้น เช่น ลดละเลิกอาหารบางอย่างร่วมกับการออกกำลังกาย
เมื่อเรากินอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายจะใช้ได้หมด อาหารนั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์แล้วถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมีผลเสียต่อสุขภาพ คนที่มีความเสียงต่อไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่
1. คนอ้วน ความอ้วนสามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงได้
2. ดื่มแอลกอฮอล์ สารตัวนี้ทำให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น และลดการกำจัดไขมันจากเลือด ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงในคนดื่มเหล้าเป็นนิจศีล
3. กินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะของหวานที่มีน้ำตาลมาก น้ำตาลส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์
4. อายุมาก คนที่อายุมากขึ้นจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นด้วย
5. ยาบางตัวทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มสูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ ไธอาไซด์ (thiazide diuretics) การให้ฮอร์โมนรักษาโรค ยาคุมกำเนิดบางตัวทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
6. พันธุกรรม คนที่มีญาติที่มีโรคหัวใจ มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง มีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคนั้นด้วยเนื่องจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันมาในสายเลือด
7. จากโรคบางชนิดทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงได้ ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 2 ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคตับ และโรคไต
เราจะรู้ว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้จากการเจาะเลือดตรวจหลังจาก อดอาหารหลังเที่ยงคืนมาแล้ว ส่วนมากเจาะหาร่วมกับไขมันตัวอื่น คือ คอเลสเตอรอล 3 ตัว (total cholesterol, HDL, LDL) รายงานที่ว่าระดับไตรกลีเซอไรด์สูงหรือไม่สูงหมายความว่า คุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ขาดเลือดสูงหรือไม่สูงด้วย
1. ความเสี่ยงสูงมาก ระดับ 500 (หรือมากกว่า) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
2. ความเสี่ยงสูง 200-499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
3. ความเสี่ยงค่อนข้างสูง 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
4. ความเสี่ยงปกติ 149 (หรือน้อยกว่า) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ระดับต่ำกว่า 100 ดีที่สุด)
อันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว หากเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วม คือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะ ไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า ไตรกลีเซอไรด์ เกิน 200 mg/dl
การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงสามารถทำให้ลดลงได้ด้วยการควบคุมอาหาร คือ ลดการกินไขมัน น้ำตาล และแอลกอฮอล์ การลดการกินของหวาน เช่น คุกกี้ น้ำอัดลม ในบางคนสามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงได้เป็นอย่างมาก การลดน้ำหนักและออกกำลังกายวันละ 30 นาทีก็สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
การกินอาหารประเภทปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มาก เช่น ปลาทูนา เทราท์ ซาลมอน แฮริง แทนการกินเนื้ออย่างอื่น สามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงได้ นักวิจัยค้นพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลามีฤทธิ์ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL) ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต อัมพฤกษ์ได้
การปรับเปลี่ยนอาหารและการออกกำลังกายดังกล่าว ไม่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณลดลงก็ควรจะพึ่งยาจากแพทย์ เช่น ยาประเภท fibrates, niacin หรือ statins มีผลต่อการลดไตรกลีเซอไรด์ แต่การกินยาอย่างนี้นาน ๆ ก็เป็นภาระมากจึงควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่มากกว่า
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวพลัส (Ricebran and Germ Oil Plus) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ให้ผลจากการรับประทาน 100% เห็นผลจริง รวดเร็ว ชัดเจน จึงขายดีที่สุดในขณะนี้
อย. เลขที่ 12-1-13353-1-0083
สั่งสินค้าคลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://ricebransaibua.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สายบัว บุญหมื่น โทร. 088 415 3926
ID Line : bua300908
อีเมล์: sboonmuen@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น